การเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ในแบบของคุณ

การเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

      บทความนี้ เราจะมาแนะนำวิธี การเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger  เพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินใจ ที่ตอบโจทย์การใช้งานของคุณ ไม่ว่าคุณกำลังมองหาที่ชาร์จสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ทำงาน หรือสถานีชาร์จสาธารณะ เราได้รวบรวมข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน แบบที่ว่าเมื่อคุณอ่านจบแล้ว สามารถสั่งซื้อเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ด้วยตัวเองได้เลย มาเริ่มต้นค้นหาเครื่องชาร์จ EV ที่เหมาะกับทั้งรถและไลฟ์สไตล์ของคุณกันเลย

 

คุณสามารถดูบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ได้ที่เว็บไซต์ของเรา evchargerx  จะมีบทความเรื่อง แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า กล่าวถึง วิวัฒนาการยานยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า หรือบทความเรื่อง รูปแบบการชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าฯ ว่าด้วย ประเภทการชาร์จ โหมดการชาร์จ ฯลฯ และบทความเรื่อง ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 เป็นต้น

 

  ความหลากหลายของรถยนต์ไฟฟ้า EV เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV charger ที่มีอยูในท้องตลาดปัจจุบัน รวมทั้งพื้นที่การใช้งาน จะเป็นปัจจัยเบื้องต้นในการพิจารณาการเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ของคุณ

 

ปัจจัยสำคัญก่อนเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger

1. ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า EV

  รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EVs) มีหลายประเภทตามลักษณะการขับเคลื่อนและความต้องการพลังงานต่าง ๆ ของผู้ใช้ สามารถแบ่งรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่พบในท้องตลาด ไว้ได้ดังนี้

    – Battery Electric Vehicles (BEVs): BEVs คือ รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนและไม่มีเครื่องยนต์ในรถ พลังงานไฟฟ้าจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่และใช้ในการขับรถ ตัวอย่างของรถประเภท BEVs เช่น Tesla Model 3, Nissan Leaf, และ Chevrolet Bolt

Plug-In Hybrid Electric Vehicles (PHEVs): PHEVs เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่สำรองและเครื่องยนต์ในรถสามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และเปิดใช้งานเครื่องยนต์ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดพลังงานตัวอย่างของ PHEVs เช่น Mitsubishi Outlander PHEV และ Ford Fusion Energi

Extended Range Electric Vehicles (EREVs): EREVs คือ ประเภทที่ผสมระหว่าง BEVs และ PHEVs พวกเขามีเครื่องยนต์ในรถที่สร้างไฟฟ้าเพิ่มในแบตเตอรี่ เมื่อพลังงานใกล้หมด.รถยนต์นี้มักมีระยะทางในการขับรถไฟฟ้าที่ยาวกว่า PHEVs และใช้เครื่องยนต์ในรถเป็นระยะ ๆ เพื่อสร้างไฟฟ้า ตัวอย่างของ EREVs. เช่น Chevrolet Volt

Hydrogen Fuel Cell Electric Vehicles (FCEVs): รถประเภท FCEVs จะใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อสร้างไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และปล่อยน้ำเป็นผลผลิตเสริม ปัจจุบันรถประเภท FCEVs ยังมีจำนวนจำกัดและมักพบในสถานที่ที่มีสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ตัวอย่างของ FCEVs เช่น Toyota Mirai และ Honda Clarity Fuel Cell

Micro Electric Vehicles (Micro EVs): รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่สร้างสำหรับการใช้งานในเมืองหรือการเดินทางสั้นๆ รวมถึงรถจักรยานไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก

Three-Wheeled Electric Vehicles: รถยนต์ไฟฟ้าที่มีล้อสามล้อที่ใช้เพื่อการเดินทางในสภาพการจราจรในเมือง โดยทั่วไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสองที่หน้าและล้อหลัง. Luxury Electric Vehicles: รถยนต์ไฟฟ้าระดับหรูที่มีการออกแบบและคุณภาพระดับสูง ตัวอย่างของรถยนต์ไฟฟ้าชนิดนี้ เช่น Tesla Model S, Porsche Taycan และ Audi e-tron

Electric Sports Cars: รถยนต์สปอร์ตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างรถยนต์สปอร์ตไฟฟ้า เช่น Tesla Roadster

แต่ละประเภทรถยนต์ไฟฟ้ามีความต้องการการชาร์จและพื้นที่ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือก EV Charger และการวางแผนการใช้งานของคุณจะต้องขึ้นอยู่กับประเภทของรถ EV ที่คุณเลือกใช้และความต้องการของคุณในการใช้งานในชีวิตประจำวัน

คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

2. ประเภทเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger

การเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ที่มีความเร็วในการชาร์จ (Charging speed) ให้เหมาะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพและความสะดวกสบายในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ความเร็วในการชาร์จมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่และความสามารถในการรับมือกับความต้องการชาร์จไฟฟ้ากับรถ EV ของคุณในแต่ละวันได้

2.1 EV Charger AC Level 1

ความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่จะช้าที่สุด และมักใช้เวลานานในการชาร์จไฟแต่ละครั้ง ดังนั้น EV Charger Level 1 เหมาะสำหรับการชาร์จประจำวันหรือการใช้งานที่บ้าน เพื่อรถไฟฟ้า EV ที่ไม่ต้องการการชาร์จบ่อยเกิน

โหมด 1 : คือการเสียบชาร์จเต้ารับไฟในบ้าน (ไฟกระแสสลับ AC) เข้ากับตัวรถโดยตรงโดยไม่มีอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟหรือป้องกันไฟรั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายตลอด ทำให้ไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอและในหลายประเทศห้ามใช้การชาร์จแบบนี้แล้ว

EV Charger AC Level 1 โหมด 1

– รูปที่ 1 EV Charger AC Level 1 (Mode 1)

 

โหมด 2 : คือการเสียบชาร์จเต้ารับไฟในบ้าน (ไฟกระแสสลับ AC) เข้ากับตัวรถ มีชุดตัวควบคุมกระแสไฟที่เข้ารถและอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ปัจจุบันกำหนดกำลังไฟไม่เกิน 2.4kW ซึ่งใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน แต่มีความปลอดภัยมากกว่าโหมด 1

EV Charger AC Level 1 โหมด 2

– รูปที่ 2 EV Charger AC Level 1 (Mode 2)

 

  2.2 EV Charger AC Level 2

จะเร็วกว่า EV Charger Level 1 และมีความสามารถในการชาร์จแบตเตอรี่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเร็วขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการใช้งานที่บ้านหรือที่ทำงาน

โหมด 3 : คือการเสียบชาร์จรถด้วย EV Charger ติดตั้งเชื่อมสายไฟกับเมนไฟฟ้าโดยเฉพาะ มีสายสัญญาณสื่อสารกับระบบชาร์จของรถ มีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วและชุดควบคุมอยู่ในเครื่องที่ติดตั้ง ใช้กระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 32A มีทั้งแบบ Single-phase และ 3-phase ใช้ได้ทั้งรถ BEV (Battery EV) และ PHEV ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

EV Charger AC Level 2 โหมด 3

รูปที่ 3 EV Charger AC Level 2 (Mode 3)

2.3 EV Charger DC Fast Charger

รถยนต์ EV ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จสูงสามารถใช้ EV Charger DC Fast Charger ในสถานที่สาธารณะเพื่อชาร์จรถไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ใช้เวลา 10-20 นาที ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่จะสั้นมาก เหมาะสำหรับติดตั้งบนทางหลวง ปั๊มน้ำมัน หรือจุดพักรถ ที่เป็นสถานที่แวะพักระหว่างการเดินทาง

โหมด 4 : คือการเสียบชาร์จรถด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charging) ทำให้ชาร์จได้ด้วยความเร็วสูงซึ่งการชาร์จรูปแบบนี้จะเห็นได้ตามสถานีชาร์จตามทางหลวง ไม่นิยมติดตั้งที่บ้าน เนื่องจากราคาสูงและสามารถใช้ได้เฉพาะรถ BEV เท่านั้น

EV Charger DC Fast Charger โหมด 4

– รูปที่ 4 EV Charger DC Fast Charger (Mode 4)

คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

3. พื้นที่การใช้งาน

รถยนต์ไฟฟ้า EV สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ในหลายที่ ไม่ว่าจะเป็น บ้านหรืออาคารที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน, ที่จอดรถสาธารณะ, ห้างสรรพสินค้า, ทางหลวงหรือทางด่วน ซึ่งเวลาในการชาร์จ และโหมดการชาร์จ รวมถึงจำนวนเครื่องชาร์จที่ติดตั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีชาร์จ

3.1 การชาร์จที่บ้าน หรือที่พักอาศัย

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ EV จำนวนมาก การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านนับเป็นตัวเลือกที่สะดวกและคุ้มค่าที่สุด เมื่อเลือกที่ชาร์จ EV สำหรับบ้านของคุณ สิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนี้

บ้านเดี่ยว : ความเร็วในการชาร์จที่เหมาะกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัย เริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมการขับขี่ในแต่ละวัน และเลือกเครื่องชาร์จที่มีความเร็วในการชาร์จที่เหมาะสม

  • ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ชาร์จและรุ่นรถ อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่า EV Charger เข้ากันได้กับรุ่นรถยนต์ EV ส่วนมากรถ EV จะใช้ขั้วต่อมาตรฐาน J1772 แต่บางรุ่นอาจต้องใช้หัวชาร์จเฉพาะ
  • ตรวจสอบความง่ายในการติดตั้ง ที่ชาร์จรถไฟฟ้าบางรุ่น สามารถเสียบเข้ากับเต้ารับมาตรฐานได้ ในขณะที่บางรุ่นอาจต้องปรึกษาและทำการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • ระยะเวลาชาร์จ โดยปกติคนเราจะใช้เวลาในบ้านหรือที่พักอาศัย เฉลี่ย 10-16 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงเวลาที่ชาร์จรถไฟฟ้า บางคนอาจชาร์จในช่วงกลางคืน ระหว่างเข้านอน และชาร์จทิ้งไว้จนถึงเช้า
  • การควบคุมสั่งการ สำหรับผู้ใช้ที่ติดตั้งเครื่องชาร์จ EV Charger ที่บ้าน ที่มีการใช้งานเป็นประจำ ทำให้ต้องอาศัยการสั่งการผ่านแอปพลิชั่น

คอนโดมิเนียม : ความเร็วในการชาร์จ ถ้าเป็นคอนโดมีเนียม ผู้อยู่อาศัยอาจมีเวลาจำกัดสำหรับการชาร์จไฟแค่ 2-4 ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากมีผู้อยู่อาศัยร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถชาร์จทิ้งได้เหมือนอยู่บ้านเดี่ยว ตำแหน่งติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า บริเวณลานจอดรถ และประเภทการชาร์จ ควรเป็นการชาร์จแบบกระแสไฟสลับ AC Charging

แนะนำ การเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger mode2 และ mode3

3.2 การชาร์จสถานที่ทำงาน หรือออฟฟิศ

ปัจจุบันสถานที่ทำงานหลายแห่งเสนอการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อผลประโยชน์ของพนักงาน หรือผู้มาใช้บริการ เมื่อเลือกที่ชาร์จ EV Charger สำหรับสถานที่ทำงาน ให้พิจารณาเรื่องเหล่านี้

  • จำนวนเครื่องชาร์จที่เพียงพอกับผู้ใช้งาน กำหนดจำนวนรถEV ที่ต้องชาร์จและวางแผนการติดตั้งที่ชาร์จหลายเครื่อง อาจจำเป็นสำหรับสถานที่ทำงานที่มีผู้คนพลุกพล่าน
  • ระบบควบคุมสั่งการ พิจารณาถึงความต้องการควบคุมการชาร์จได้ เช่น การ์ด RFID หรือแอปพลิเคชั่น (application)ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อจัดการการใช้งานเครื่องชาร์จ EV Charger และป้องกันการชาร์จโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ค่าใช้จ่ายในการชาร์จ ตัดสินใจว่าการเรียกเก็บเงินจะเป็นแบบฟรีหรือชำระเงิน และใช้ระบบจ่ายเงินที่เข้าถึงง่าย เพื่อความรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนใช้งานเยอะ

ระยะเวลาการชาร์จ สำหรับออฟฟิศหรือสำนักงาน ถ้าเป็นพนักงานประจำจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน ที่ใช้เวลาอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาติดต่อธุระ อาจจะใช้เวลาแค่ 2 – 4 ชั่วโมง ทำให้เจ้าของอาคารควรจะคำนึงถึงผู้ใช้งานกลุ่มนี้เพิ่มเติมด้วย

แนะนำ การเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger mode3 สำหรับพนักงาน, mode4 สำหรับผู้มาใช้บริการและบุคคลทั่วไป

3.3 สถานีชาร์จสาธารณะ (EV Station)

สถานีชาร์จสาธารณะ มีความจำเป็นสำหรับการเดินทางระยะไกลและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเมือง เมื่อเลือกเครื่องชาร์จ EV Charger สำหรับการใช้งานสาธารณะที่เป็นทางผ่าน เช่น ทางหลวง ทางด่วน ให้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้

  • ความเร็วในการชาร์จที่รวดเร็วและรองรับรุ่นรถ EV  หลายแบรนด์ในท้องตลาด ควรเป็นการชาร์จแบบเร็ว ที่ใช้ระยะเวลาชาร์จไม่เกิน 30 นาที
  • สถานที่ติดตั้งที่ชาร์จในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น เช่น ทางหลวง จุดพักรถ มอเตอร์เวย์ เพื่อให้ผู้ขับขี่ EV เข้าถึงได้ง่าย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องชาร์จ EV ที่ติดตั้งอยู่นั้น มีระบบเครือข่ายรองรับการใช้งานและควบคุมได้ง่าย เพื่อให้ผู้ใช้มีตัวเลือกสำหรับการชำระเงินที่รวดเร็ว สามารถอัปเดตสถานะแบบเรียลไทม์ได้
  • ความทนทานของเครื่องชาร์จหรือแท่นชาร์จที่ติดตั้ง ควรถูกสร้างขึ้นให้มีความทนทานต่อการใช้งานหนักและสภาพแวดล้อมรุนแรง อย่างเช่น แสงแดด อากาศร้อน และฝนตกหนัก
  • ระยะเวลาการชาร์จ การใช้งานในพื้นที่แบบนี้ ส่วนมากใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที หรือไม่เกิน 1 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่างพักรถ แวะเข้าห้องน้ำ ซื้อกาแฟ หรืออาหาร

แนะนำ การเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger DC Fast Charger (mode4)

3.4 การชาร์จปลายทาง

ร้านอาหาร ศูนย์กลางค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และจุดหมายปลายทางอื่นๆ สามารถดึงดูดผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ระหว่างเข้ามาใช้บริการในพื้นที่เหล่านี้ การเลือกที่ชาร์จ EV Charger สำหรับการชาร์จในพื้นที่เหล่านี้ ให้พิจารณา ดังนี้

  • ความเร็วในการชาร์จ โดยทั่วไปเครื่องชาร์จ สำหรับการชาร์จปลายทางที่ต้องการเวลาในการชาร์จไฟให้เต็มไม่เกิน 3 ชั่วโมง
  • การเข้าถึงง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงที่ชาร์จได้ง่าย และมีเครื่องหมายบอกตำแหน่งสถานีชาร์จ EV Station ที่ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มาใช้บริการ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย
  • ระยะเวลาในการชาร์จ ส่วนมากผู้คนใช้เวลาในพื้นที่เหล่านี้ เฉลี่ย 2 – 4 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเล่น เดินช้อปปิ้ง ภายในห้างสรรพสินค้า

การติดตั้งสถานีชาร์จ EV Charger ถือเป็นกลยุทธ์การส่งเสริมธุรกิจที่ผู้ประกอบการเล็งเห็นโอกาสในการดึงดูดลูกค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า

แนะนำ การเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger mode3 และ mode4

เปรียบเทียบการชาร์จไฟฟ้าแต่ละประเภท

รูปที่ 5 เปรียบเทียบการชาร์จไฟฟ้าแต่ละประเภท

ขอขอบคุณตารางข้อมูล: chargedevs.com

4. ปัจจัยอื่น

นอกจาก 3 เรื่องหลักๆ ที่เรากล่าวไปสำหรับการเลือกที่ชาร์จ EV คุณอยากจะต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • ความปลอดภัย: ความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือก EV Charger คุณควรตรวจสอบว่า EV Charger มีมาตรฐานความปลอดภัยรองรับ เช่น UL รวมถึงระบบการควบคุมความร้อนและระบบความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการชาร์จ การเลือก EV Charger จากยี่ห้อที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ จะช่วยให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการชาร์จ เช่น Schneider Electric, ABB, Siemens
  • ความสะดวกสบาย: ความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องการใช้งาน EV Charger ในชีวิตประจำวัน คุณควรเลือก EV Charger ที่มีอินเตอร์เฟซและฟังก์ชันที่ใช้งานง่าย รวมถึงระบบสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อให้คุณทราบสถานะของการชาร์จ
  • ค่าใช้จ่าย: ราคาของ EV Charger มีความแปลกแตกต่างกัน คุณควรกำหนดงบประมาณที่เหมาะสมและเลือก EV Charger ที่ตรงตามงบประมาณของคุณ อย่าลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและราคาค่าไฟฟ้าในการใช้งานระยะยาวด้วย
  • การติดตั้ง: การติดตั้ง EV Charger อาจจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติม คุณควรหาก่อสร้างที่นั่งชาร์จที่เหมาะสม และตรวจสอบว่าระบบไฟฟ้าของคุณเพียงพอสำหรับการติดตั้ง EV Charger โดยมีความปลอดภัย

 

การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการใช้งาน ซึ่งเมื่อคุณต้องการที่จะซื้อเครึ่องชาร์จไฟฟ้า EV Charger สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ งบประมาณ ดังนั้น ปัจจัยในการเลือกซื้อ EV Charger มี 2 ส่วนคือ งบประมาณ และ การรูปแบบการใช้งาน

สำหรับงบประมาณ แน่นอนว่าเครื่องชาร์จที่มีกำลังไฟสูงราคาก็จะสูงตามไปด้วย แต่สำหรับรูปแบบการใช้งาน หากซื้อไปใช้กับรถไฟฟ้าที่บ้าน ก็ให้มองถึง Charging Capacity ว่ารับไฟได้สูงสุดเท่าไหร่ ปกติแล้ว หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน(PHEV) ไม่ว่าจะเป็นของค่าย Benz BMW Porche ก็สามารถรับไฟได้เพียง 3.7kW หรือ 7.4kW เท่านั้น เพราะเป็นรถปลั๊กอิน แบตจึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย

ในทางกลับกันหากในอนาคตคาดว่าอาจจะได้ครอบครองรถไฟฟ้าที่มี Charging Capacity สูงๆ อย่างเช่น Tesla ซึ่งรับไฟได้ถึง 11kW ก็อาจติดตั้งไว้เผื่อได้

ท้ายสุด คือ ระบบการสื่อสารของ EV Charger หากมองว่าอนาคตจะเปิดให้มีการชาร์จแบบ Public (ให้คนอื่นสามารถมาชาร์จได้แบบมีค่าบริการ) ก็ควรเลือกเครื่องชาร์จที่รองรับ OCPP (Open charge point Protocol)

การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่าย

ความเร็วในการชาร์จไฟรถยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On-Bard Charger) หรือ ความสามารถในการดึงพลังงานไฟฟ้าของตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger ของรถยนต์แต่ละรุ่น โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งทำให้ตัวเครื่องชาร์จ ออกแบบมาให้มีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน) ราคาเครื่องชาร์จหลากหลายมีตั้งแต่ 15,000-80,000 กว่าบาท (แล้วแต่ยี่ห้อ)

ยกตัวอย่าง : สมมุติว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่รับไฟสูงสุด 7.4 kW/h โดยมีขนาดแบตเตอรี่เต็ม 45 kW เราต้องใช้เวลาชาร์จจนเต็มประมาณ 6 ชั่วโมง (หรือเอา 45 หาร 7.4)

เวลาชาร์จจนเต็ม(ชั่วโมง) = ขนาดแบตเตอรี่เต็ม(kW)÷รถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่รับไฟสูงสุด(kW/h)

โดยเราสามารถเลือกเครื่องชาร์จไฟขนาดไหนมาใช้ก็ได้ แต่ความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มจะไม่เท่ากัน

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) * กระแสไฟฟ้า (แอมป์) | P (Watt) = V (Voltage) * I (Amp)
ถ้า EV Charger แบบแขวนผนัง (Wallbox) ขนาด 32A = 230V * 32A = 7360w = 7.36 kw

สำหรับใครที่เลือกเครื่องชาร์จ EV Charger ขนาด 3.7 kW ต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้นเป็น 12 ชั่วโมง ในทางกลับกันหากเลือกเครื่องชาร์จขนาด 11 kW หรือ 22 kW เครื่องชาร์จก็จะลดขนาดไฟลงมาอัตโนมัติให้เหลือเพียงขนาดที่รถสามารถรับไฟได้คือ 7.4kW หมายความว่าแม้เราจะซื้อเครื่องขนาดใหญ่ แต่ถ้า On-Board Charger ของตัวรถยนต์ไม่สามารถรับได้ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะตัวรถรับได้แค่นี้ ดังนั้น เครื่องชาร์จที่เหมาะสมคือ 7.4 kW นั่นเอง

ตัวอย่างคำนวณค่าไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ขนาด On-Board charger สูงสุดที่ 7.4 kW/h, Battery Capacity 44.5 kW, ระยะทางขับ 337 KM*ชาร์จไฟ 2 ชั่วโมง 7.4 kW x 4 บาท x 2 ชั่วโมง = 59.2 บาท

ชาร์จไฟเต็ม จาก 0 –> 100% = 44.5/7.4 = 6.01 ชั่วโมง หรือ 7.4 kW x 4 บาท x 6.01 ชั่วโมง = 177.9 บาท หรือเป็น อัตรากิโลเมตรละ 0.53 บาท (โดยประมาณ)

หมายเหตุ คิดค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้า หน่วยละ 4 บาท

สรุป

   จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจ เช่น ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในแบบต่างๆ พื้นที่การใช้งาน และปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งการคำนวณค่าไฟฟ้า เรา evchargerx หวังว่าข้อมูลจากบทความที่กล่าวมาพอที่จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ได้ตามที่ความต้องการ ในแบบของคุณ

บทความที่เกียวข้อง